ประเพณี

 เทศกาลแห่งความเชื่อ ประเพณีผีตาโขน   

 เทศกาลแห่งความเชื่อ ประเพณีผีตาโขน   

  ประเพณีผีตาโขน เป็นงานแห่ผีที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งถือว่าเป็นงานบุญใหญ่ของจังหวัดเลย เทศกาลนี้จะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี

ประเพณีผีตาโขน จะตรงกับเดือน 7 เรียกว่างานบุญหลวง เป็นเทศกาลหนึ่งเดียวในโลก เราอาจจะเคยดูตามทีวี หรืออ่านข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ ถึงการละเล่นผีตาโขน มีผู้คนเป็นจำนวนมากต่างพากันหลั่งไหลเพื่อไปเยี่ยมชมเทศกาลนี้ เพราะหายดูได้ยาก 1 ปีมีครั้งเดียว 

     ประเพณีผีตาโขนเป็นเทศกาลของชาวอีสาน เป็นประเพณีของชาวด่านซ้าย ในทุกๆปี จะมีการเตรียมการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่อลังการ โดยจะมีการจัดงานทั้งสิ้น 3 วัน ถ้าถามหาประวัติความเป็นมาของประเพณีนี้ มีการสันนิฐานว่าน่าจะมีมาตั้งนานเป็นร้อยๆปีแล้ว  

   ผีตาโขน เดิมมีชื่อเรียกว่าผีตามคน

โดยได้รับอิทธิพลมาจากเรื่องมหาเวชสันดร  การเล่นผีตาโขนนั้น จะมีการทำรูปหน้ากาก น่าเกลียดน่ากลัว มาใส่ปิดบังใบหน้า และต้องใส่เสือผ้ามิดชิด แล้วมาเดินขบวนร่วมกัน โดยต้องแสดงท่าทางต่างๆ 

วันแรกที่จัดงาน ชาวบ้านจะช่วยกันสร้างหออุปคุต และทำกระทงใบเล็กๆไปวางตามทิศต่างๆ จำนวน 4 ทิศ บนหอหลวง

 วันที่สอง จะเป็นพิธีการแห่พระเวสสันดร ซึ่งมีการหามแคร่ซึ่งในขบวนแห่จะมี พระพุทธรูป  1องค์ พระสงค์ 4 รูป นั่งมาด้วย ตามมาด้วยขบวนเจ้าพ่อกวนนั่งอยู่บนกระบอกบั้งไฟ ต่อด้วยขบวนเป็นเจ้าแม่นางเทียมกับบริวาร แล้วจึงเป็นชาวบ้าน และเหล่าผีตาโขนโดยขบวนผีตาโขน แต่ละตัวก็จะทำการร่ายรำท่าทางๆ อย่างสนุกสนานระหว่างเดินขบวนแห่จะมีการละเล่นดนตรีพื้นเมืองตลอดเส้นทาง โดยจะมีการแห่งไปที่วัดเพื่อทำการบายศรีสู่ขวัญ  ผู้ที่มาร่วมงานจะนำบั้งไฟมาเล่นในงานด้วย การแห่ขบวนผีตาโขนจะมีการเดินไปรอบเมืองก่อนตะวันตกดิน ที่สำคัญคนที่ใส่ชุดผีตาโขนใหญ่ ต้องถอดชุดผีตาโขนออกให้หมดแล้วนำไปทิ้งลงแม่น้ำหมัน เชื่อกันว่าเป็นการทิ้งสิ่งไม่ดีและความทุกข์ ห้ามนำกลับมาบ้านเด็ดขาด 

     วันที่สาม วันนี้ผู้คนจะพากันมาทำบุญตักบาตร อุทิศส่วนบุญให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว มีการฟังเทศน์มหาชาติ พระเวสสันดรชาดก 13 กัณฑ์ ทีวัดโพนชัยเพื่อเป็นการสร้างบุญกุศลและความเป็นสิริมงคลที่ดีแก่ชีวิต ในวันนี้จะไม่มีการเล่นผีตาโขนแล้ว 

ในขบวนการแห่งผีตาโขนจะมีการแห่แยกออกเป็น 2 ชนิดคือ ผีตาโขนเล็ก ซึ่งจะเป็นการละเล่นผีตาโขนของเด็กๆ กับผีตาโขนใหญ่  จะเป็นเป็นหุ่นผี ที่มีลำตัวขนาดใหญ่กว่าคน โดยทำมาจากไม้ไผ่มาประดับตกแต่งให้เหมือนคน 

อีกหนึ่งงานดังของทางภาคอีสานที่น่าสนใจคือ ประเพณีบุญบั้งไฟ งานใหญ่จังหวัดยโสธร

 

Posted by adminone in ประเพณี
ประเพณีบุญบั้งไฟ มาทำความรู้จักงานบุญบั้งไฟกันเถอะ    

ประเพณีบุญบั้งไฟ มาทำความรู้จักงานบุญบั้งไฟกันเถอะ    

    ประเพณีบุญบั้งไฟ หรืออีกชื่อคือประเพณีบุญขอฝน เป็นการจัดกิจกรรมของหมู่บ้าน จะกำหนดวันให้มี การแข่งขันการจุดบั้งไฟ ว่าใครสวยกว่ากัน แข่งขันกองเชียร์ 

ประเพณีบุญบั้งไฟ นี้เป็นประเพณีของทางภาคอีสาน โดยจัดขึ้นเพื่อเป็นการบูชาเทพ ต้นกำเนิดประเพณีบุญบั้งไฟมาจากความเชื่อที่ว่า เทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่งเป็นเทพที่หน้าที่ในการดูแลเรื่องฝนให้ตกตามฤดูกาล และมีความเชื่อกันว่า ถ้าไม่จัดงานบุญบั้งไฟ ฝนจะไม่ตก และจะทำให้หมู่บ้านเกิดภัยพิบัติ ที่เลือกจะจัดงานเกี่ยวกับไฟ เพราะเชื่อว่าเทพองค์นี้มีความชื่นชอบไฟเป็นพิเศษ 

     เหตุที่เราเรียกงานบุญนี้ว่างานบุญบั้งไฟ เนื่องจาก มีการเอาดินปืนมาใส่กระบอกไม้ไผ่ แล้วนำไปจุดให้พุ่งขึ้นไปบนฟ้า ซึ่งจะทำให้มีควันและเสียงดังมาก บั้งไฟเป็นภาษาเรียกของทางภาคอีสาน หมายถึงดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง จริงๆแล้วงานบุญบั้งไฟไม่ได้จัดเฉพาะภาคอีสานเท่านั้น แต่ในภาคอื่นๆก็มีการจัดกิจกรรมแบบนี้ด้วย จังหวัดที่จัดกิจกรรมบั้งไฟนอกจากจังหวัดในภาคอีสานได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์  นครสวรรค์ อุทัยธานี นราธิวาส เป็นต้น 

     บั้งไฟมีหลายประเภทได้แก่ บั้งไฟโหวด( ปัจจุบันไม่นิยมทำกันแล้ว )   บั้งไฟม้า บั้งไฟช้าง บั้งไฟแสน บั้งไฟตะไล บั้งไฟตื้อ และบั้งไฟพลุ สำหรับบั้งไฟพลุนั้นจะเป็นทีนิยมกันมากที่สุด เพราะมีสีสันสวยงาม นอกจากจะนำมาจุดในงานบั้งไฟแล้ว ยังนิยมมาจุดในงานพิธีมงคลต่างๆ เช่น งานกิน  งานปีใหม่ ตามงานวัดต่างๆ  

     ส่วนประกอบของบั้งไฟได้แก่  เลาบั้งไฟ ( ส่วนที่ทำหน้าที่บรรจุดินปืน )  หางบั้งไฟ (ส่วนนี้สำคัญที่สุดเพราะจะคอยบังคับทิศทางของบั้งไฟว่าจะไปทางไหน )  และลูกบั้งไฟ ( เป็นลำไม้ไผ่ หลายๆอันเอามามัดรวมกัน )

     การจัดงานบุญบั้งไฟ จะมีการจัดกันในวันวิสาขบูชา กลางเดือนหก

โดยในตอนกลางวันนั้น ชาวบ้านจะนำอาหารคาว – อาหารหวาน มาทำบุญตักบาตรทีวัดและฟังพระธรรมเทศนา ตกเย็นจะมีกิจกรรมเวียนเทียนและตามด้วยงานแข่งจุดบั้งไฟ ซึ่งภายในงานจะมีร้านค้านำสินค้า และอาหารมาขาย มีการจัดกิจกรรมการละเล่นอื่นๆ ให้ชาวบ้านอีกด้วย และในบางจังหวัดในช่วงตอนกลางวันจะมีการจัดแห่บั้งไฟขนาดใหญ่ไปตามถนน รวมถึงมีขบวนนางรำ เดินรำไปตามถนนเป็นภาพที่สวยงามมาก 

      จังหวัดที่มีชื่อเสียงในการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟมากที่สุด คือจังหวัดยโสธรและกาฬสินธุ์  จะมีคนจากจังหวัดอื่นเดินทางไปท่องเที่ยวชื่นชมงานบุญบั้งไฟกันเป็นจำนวนมาก และมีการจัดเป็นประจำทุกปี

นอกจากงานบุญบั้งไฟแล้ว ประเพณีที่ยิ่งใหญ่อีกแห่งที่น่าสนใจคือ ประเพณีผีตาโขน ที่จังหวัดเลย

Posted by adminone in ประเพณี