วัคซีนmRNAจุฬาทดลอง

วัคซีนmRNAจุฬาทดลองในคนเฟส2สกัดเดลต้าได้

วัคซีนmRNAจุฬาทดลอง ซึ่งถ้าหากพัฒนาวัคซีนแผ่นแปะได้สำเร็จ นอกจากจะสะดวกมากในการรับวัคซีนของประชาชนเพราะว่าเวลาเรามีวัคซีนตัวนี้ประชาชนก็จะสามารถแปะกันเองได้ที่บ้านและจะไม่เจ็บตัวสะดวกในการขนส่งและไม่ต้องเก็บไว้ในอุณหภูมิที่ติดลบด้วย

เพราะฉะนั้นทั่วโลกก็จะเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงวัคซีนได้มากยิ่งขึ้นและเร็วยิ่งขึ้นด้วยเพราะว่าวัคซีนตัวนี้หลายตัวที่ติดขัดปัญหาในบางประเทศสำหรับจัดเก็บไว้ในอุณหภูมิติดลบ นอกจากนี้วัคซีนต้าน covid 19 ในรูปแบบแผ่นแปะ 3 มิตินี้ก็ยังสามารถนำเอาไปพัฒนาต่อยอดในอนาคตเอาไปพัฒนาสำหรับวัคซีนอื่นๆได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ หัด หรือว่าไวรัสตับอักเสบด้วย

นอกจากนี้เรามาดูในส่วนของประเทศไทยกันบ้างที่มีหลายทีมอยู่ในระหว่างการค้นคว้าวิจัยและทดสอบวัคซีนป้องกัน covid-19 เช่นเดียวกัน วันนี้ได้มีความคืบหน้าไม่ว่าจะเป็นวัคซีนตัวแรกที่ชื่อว่าวัคซีนต้าน covid 19 ชนิด mRNA ของจุฬาฯจุฬาคอฟ 

โดยเรื่องนี้ศาสตราจารย์นายแพทย์เกียรติ รักษ์รุ่งธรรมคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยบอกว่า ตอนนี้วัคซีนชนิดนี้ได้เข้าสู่กระบวนการการทดลองในมนุษย์ระยะที่ 2 แล้วในกลุ่มอายุ 18 ถึง 59 ปี เข็มที่ 2 โดยภูมิคุ้มกันเบื้องต้นต่อเชื้อ covid19 ในแต่ละสายพันธุ์พบว่า 

ถ้าเป็นเชื้อสายพันธุ์ดั้งเดิมหรือว่าเชื้ออู่ฮั่นภูมิตรงนี้จะสูงขึ้นมากทั้งการฉีดวัคซีนในปริมาณน้อยๆ หรือฉีดในปริมาณมาก แต่ถ้าเป็นเชื้อกลายพันธุ์อย่างเช่นเชื้อเดลต้าภูมิก็อาจจะลดลงบ้างแต่ก็ถือว่ายังพอจะรับมือได้อยู่

ส่วนผลข้างเคียงโดยส่วนใหญ่มีเพียงเล็กน้อยถึงปานกลางอาจจะมีไข้หนาวสั่นปวดกล้ามเนื้ออ่อนเพลียแต่อาการเหล่านี้จะค่อยๆกลับมาดีขึ้นภายใน 1-2 วัน และเพื่อความรอบคอบมหาวิทยาลัยจุฬาฯก็เลยจัดเตรียมวัคซีนรุ่นต่อไป จุฬาคอฟรุ่น 2รุ่น 1 ยังไม่สามารถป้องกันเชื้อ ข้ามสายพันธุ์ได้ดี ก็จะได้มีรุ่น 2 ตามมานี่คือบริษัทแรกและหน่วยงานแรกที่มีการคิดค้นออกมาของไทย

ดังนั้นวัคซีนของไทยที่กำลังผลิตอีก 4 บริษัทก็คือ วัคซีนชนิดเชื้อตายขององค์การเภสัชกรรมมีวัคซีนในการป้องกันแบบพ่นจมูกของไบโอเทคมีวัคซีนใบยาซึ่งได้รับวิจัยโดยบริษัทใบยาไฟโตฟาร์มและอีกที่หนึ่งก็คือวัคซีนโควิเจน

ซึ่งเป็นวัคซีนชนิด DNA ของไบโอเนทเอเชีย ทั้งหมดนี้ได้มีการทดสอบในมนุษย์ระยะที่ 1 หรือกลุ่มอาสาสมัครต่างๆไปแล้วและได้ผลดีเลยทีเดียว สามารถที่จะรับมือกับปัญหาการระบาดของเชื้อไวรัส covid-19 ได้แล้วส่วนใหญ่กำลังจะเริ่มทดลองระยะที่ 2 ในคน 

แต่ว่าท้ายที่สุดวัคซีนที่ไทยเราได้ผลิตขึ้นมาเองจะผลิตให้ใช้ได้อย่างเร็วน่าจะเป็นประมาณกลางปีหน้า 2565 เพราะฉะนั้นการวิจัยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเป็นเข็มกระตุ้นก็จะเป็นการตอบโจทย์ทั้งในประเทศไทยแล้วก็ในต่างประเทศด้วย

 

สนับสนุนโดย.  สมัคร Gclub

Posted by adminone in ข่าวทั่วไป